การเพาะเห็ด

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานีจัดฝึกอบรมวิชาชีพให้กับเยาวชนที่ เรื่อง อบศ.3 ที่ไม่ได้ศึกษาต่อได้มีโอกาสประกอบอาชีพได้ โดยอบรมเชื้อการเพาะเห็ด นาย เริงจิตร

มีลาถสม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานีและทำหนาที่ผูอำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออฉียหนือ5 กล่าวว่า

ตามที่สำนักงานกรมอาชีวศึกษาได้มี นโยบายให้มีการฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับเยาวชนผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ไม่ได้ศึกษาต่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างน้อย 1 อาชีพ ตามความถนัดและความสนใจสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและประกอบอาชีพ และเพื่อส่งเสริมความกาวหน้าในอาชีพ การพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต และให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ที่จะนำไปประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับตน โดยแบ่งเป็นกลุ่มอาชีพใหญ่ 5 กลุ่ม คือ ช่างอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ ศิลปกรรม คหกรรม และเกษตรกรรม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี จึงได้จัดฝึกอบรมวิชาการเพาะเห็ดให้กับเยาวชน หัวข้อรายละเอียดของการฝึกอบรมได

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำเร็จของการเพาะเมล็ด การทำอาหารวุ้น พี.ดี.เอ. การแยกเนื้อเยื้อเห็ด การทำหัวเชื้อเห็ด การทำเชื้อเห็ดฟาง การวิเคราะห์เชื้อเห็ด ขั้นตอนการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง ปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะเห็ด โรงเรียนเพาะเห็ด โรคศัตรูเห็ดและการป้องกันกำจัด การวิเคราะห์ต้นทุน กำไร การกำหนดราคาขาย กระบวนการฝึกอบรมเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้สามารถนำเอาไปประกอบอาชีพได้ หลักสูตรการอบรมใช้ระยะเวลา 10 วัน คือ วันที่ 20-30 กันยายน 2546 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผ่านการฝึกอบรมจำนวน 20 คน

 

การเพาะเห็ด

วัสดุที่ใช้ผลิตเห็ด 1 ถุง

1. ถุงเพาะเห็ด ขนาด 7 ½ x 11 นิ้ว หรือ ขนาด 6 ½ x 10 ½ นิ้ว 1 ถุง

2. คอขวด 1 อัน

3. ยางรัดวงเล็ก 2 วง

4. สำลีปิดปากคอขวด 1 จุก ใช้จุกประหยัดสำลี แทนได้

5. กระดาษปิดปากถุง ขนาด 3 ½ x 3 นิ้ว 1 อัน

(หากไม่ใช้กระดาษปิดปากถุง จะใช้ฝาครอบนึ่งแทน 1 อัน เพื่อนำไปนึ่งแล้วใช้กระดาษภายหลังขนาดปริมาณวัสดุเพาะเห็ดต่อหน่วย (โดยประมาณ)

    1. ถุงเพาะเห็ดขนาด 7 x 11 นิ้ว 1 กิโลกรัม มี 220 ถุง
    2. คอขวด 1 ถุง มี 1,000 อัน 1 กิโลกรัม มี 480 อัน
    3. ยางรัดวงเล็ก 1 ถุง มีประมาณ 3,272 วง
    4. สำลีสังเคราะห์ (สีเทา) 1 กระสอบปุ๋ย ใช้กับถุงเพาะเห็ด ได้ประมาณ 2,500 ถุง (หากใช้จุกประหยัดสำลี จะใช้ประมาณ 10,000 ถุง)

วิธีการผสมอาหารเห็ดตามสูตร (การผสมขี้เลื่อย)

    1. ชั่งขี้เลื่อยหรือตวงขี้เลื่อย ตามที่ต้องการ
    2. แผ่กองขี้เลื่อยให้แบนลง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปวงกลม
    3. ชั่งรำละเอียด น้ำตาลทราย ปูนขาว (ยิปซั่ม)

ตามสูตรหว่านลงบนกองขี้เลื่อยทีละชนิดเป็นแผ่นบางๆ ให้ทั่วกอง (ปูนขาวมีก้อนให้ร่อนเอาก้อนออกก่อน) ทำการผสมขี้เลื่อยตามส่วนผสมให้เข้ากันพอประมาณ

4. ชั่งดีเกลือ แล้วเทลงบนบัวรดน้ำ คนให้ดีเกลือละลาย แล้วใช้บัวรดน้ำลงบนกองขี้เลื่อยให้สม่ำเสมอจนหมด หรืออาจผสมขี้เลื่อยแห้ง 2 กิโลกรัม แล้วหว่านให้ทั่วพร้อมกับการหว่านส่วนผสมอื่นๆก็ได้

5. ใช้พลั่ว 2 พลั่วผสมขี้เลื่อยและส่วนผสมบนกองให้ทั่ว (ผสมไปมา 6 ครั้ง)จนส่วนผสมเข้ากันดี

6. รดน้ำ ตรวจสอบความชื้นให้พอดี ไม่เปียก ไม่แห้งจนเกินไป (เอามือกำส่วนผสมบีบแรงๆ ไม่มีน้ำไหลเยิ้มออกมา แบมือออกส่วนผสมจับกันเป็นก้อนได้บ้างเล็กน้อย)

7. ทำการบรรจุขี้เลื่อยผสมลงในถุงพลาสติก ถุงละ 1 กิโลกรัม (ส่วนผสมนี้ต้องบรรจุให้หมดภายใน 3 วัน)

8. อัดขี้เลื่อยในถุงให้แน่น แต่งคอถุงให้กลมมนนูนเป็นรูปครึ่งวงกลม

9. ใส่คอขวดโดยเอาด้านกว้างคว่ำลง

    1. ดึงปลายถุงพับหุ้มคอขวดให้ตึง และคอขวดอยู่กลางถุง
    2. รัดยางให้แน่น 1 วง
    3. ใส่สำลีปิดปากถุง 1 จุก ให้แน่น
    4. ใช้กระดาษปิดปากถุง รัดยาง (อาจใช้ฝาครอบนึ่งแทน)
    5. ตรวจสอบคุณภาพดูให้แต่ละถุงสม่ำเสมอ ถุงไม่ปริ แตก ขาด เป็นรูทะลุถุง

การเขี่ยเชื้อเห็ดลงในถุงอาหารเห็ด

    1. หลังการนึ่ง 6-12 ชั่วโมง ในถุงอาหารเห็ดจะเริ่มเย็นพอที่จะเขี่ยเชื้อได้
    2. เตรียมหัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่างตามที่ต้องการไว้ให้พอ (1 ขวด จะเขี่ยเชื้อได้ 30-40 ถุง) โดยตรวจสอบให้เชื้อมีอายุพอเหมาะ มีความบริสุทธิ์
    3. ใช้ขวดหัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง ทุบกับฝ่ามือหรือยางนอกรถยนต์ ให้เมล็ดร่วนหากจับกันเป็นก้อนแข็งให้ใช้เหล็ก หรือไม้สะอาดชุบแอลกอฮอลฆ่าเชื้อโรคเช็ดให้สะอาดแล้วสอดเข้าไปตีเชื้อเห็ดในขวดใหเแตกเป็นเมล็ดร่วน
    4. ล้างมือให้สะอาด เช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ฆ่า เชื้อโรคหรือน้ำยาเดทตอลแล้วเช็ดทำความสะอาดภายนอกขวดหัวเชื้อเห็ด โดยไม่เปิดปากขวด
    5. จุดตะเกียงแอลกอฮอล์
    6. ใช้มือจับก้นขวด เปิดปากขวดหัวเชื้อเห็ดออก
    7. ลนปากขวดให้ร้อนเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บริเวณปากขวด แล้วถือไว้
    8. ใช้มืออีกข้างดึงกระดาษหรือฝาครอบนึ่งออก หยิบสำลีด้วยหัวแม่มือกับนิ้วชี้ชูไว้โดยไม่วางสำลีลงพื้น
    9. เทหัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้างฟ่างลงปากถุง อาหารเมล็ด ประมาณ 30-40 เมล็ด (ประมาณ 1-2 ช้อนชา)
    10. รีบปิดสำลีที่ปากขวดทันที
    11. ทำถุงต่อไปจนเสร็จ โดยการลนปากขวดหัวเชื้อเห็ดอาจลน 5-10ถุง ต่อครั้งก็ได้
    12. หัวเชื้อเห็ดที่ไม่หมดพยายามเทให้หมดในแต่ละครั้ง หากเหลือไม่ควรเก็บไว้ให้เททิ้งให้หมด

การบ่มก้อนเชื้อเห็ด

นำถุงก้อนเชื้อเห็ดที่เขี่ยเชื้อแล้วไปวางในห้องหรือโรงบ่มไม่ให้ถูกฝน ไม่ต้องรดน้ำ รอจนเส้นใยเห็ดสีขาวเจริญเติบโตถึงก้นถุง จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์เห็ด จึงนำไปเปิดดอกให้ เห็ดออกดอกในโรงเพาะเห็ด ขณะบ่มให้คอยดูแลรักษาโดยคัดถุงที่เสียเชื้อไม่เดิน มีราสีเขียว ราดำ ราสีส้ม ราสีเหลือง ออกไปทิ้ง คอยระวังอย่าให้หนูมากัดปากถุง เพื่อกินเมล็ดข้าวฟ่าง สังเกตการระบาดของไรไข่ปลา หากมีรีบหาทางป้องกัน

การเก็บดอกเห็ด

    1. เห็ดขอนขาว เห็ดบด ให้เก็บดอกยังไม่บาน หากบานดอกจะเหนียว รับประทานไม่อร่อย ขายไม่ได้ราคา ชุดแรกให้ตัดชิดขี้เลื่อย รอจนดึงเห็ดไม่มีขี้เลื่อยติดออกมาจึงเก็บโดยการดึง
    2. เห็ดนางรม นางฟ้า เป๋าฮื้อ เห็ดตีนแรด เห็ดโคนหลวง เห็ดหอม ให้เก็บดอกบานพอเหมาะหรือกำลังบาน ยังไม่ปล่อยสปอร์ โดยดึงออกจากปากถุง หรือตัดจากถุง หากมีก้านเห็ดขาดคอปากถุงให้ใช้หางช้อนสะอาดแกะออก
    3. เห็ดหมื่นปี เห็ดหูหนูให้เก็บดอกที่บานเต็มที่
    4. เห็ดเข็มทอง,เข็มเงิน,เห็ดโคลนหลวง ให้เก็บโดยดึงดอกเห็ดออกทั้งกระจุกในระยะดอกเห็ดกำลังจะบาน

ผลผลิตเห็ดต่อถุง

เห็ดแต่ละชนิดให้ผลผลิตไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์เห็ด และการดูแลรักษาปกติเห็ดในถุงทั่วไปให้ผลผลิต ประมาณ 250-300 กรัม ต่ออายุการเก็บ 4-6 เดือน