โครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนของ
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานีกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินโครงการอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนประถมศึกษาธิการมาตั้ง แต่ปี พ.ศ 2525 จนถึงปัจจุบันซึงยังพบว่ายังมีเด็กนักเรียนอีกเป็นจำนวนมากขาดแคลนอาหารกลางวัน หรือบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงได้มอบหมายให้สถาบันการอาชีวศึกษาซึ่งมีอยู่ 28 แห่งทั่วประเทศ และมีสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดที่เป็นวิทยาเขต จำนวน 412 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เป็นหลัก และประสานกับสถานศึกษาในเครือข่ายสถาบัน ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยการอาชีพ ให้เป็นหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริม ประสานงาน เป็นแหล่งผลิตอาหาร ปัจจัยการผลิต และให้ความรู้ด้านวิชาการซึ่งจำแนกประเภทโรงเรียนตามความต้องการอาหารกลางวันและวางแผนการช่วยเหลือไว้เป็น 3 ระดับ คือ โรงเรียนระดับที่ 1 ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โรงเรียนระดับที่ 2 ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน และโรงเรียนระดับที่ 3 ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือดำเนินการได้เป็นส่วนน้อย
นายเริงจิตร์ มีลาภสม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี และทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 เปิดเผยว่า โครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนเกิดจากนโยบาลของรัฐบาลที่ต้องการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กโดยใช้แนวทางโครงการธนาคารอาหาร ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมาพัฒนา เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ในทางปฏิบัติสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดสรรเงินให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จำนวน 46 แห่ง เป็นเงิน 7,500,000 บาท ในหมวดค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุจังหวัดละ 100,000 บาท เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานให้มีปัจจัยการผลิตเพียงพอ สำหรับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี ได้รับเงินจัดสรร 200,000 บาท รับผิดชอบโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ
นายประพงษ์ วรกาญจนบุญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายจัดการศึกษา กล่าวว่า ได้ประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อคัดเลือกโรงเรียนที่จะได้รับตามโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน โดยมีครู- อาจารย์จากวิทยาลัยฯ สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ศักยภาพการดำเนินโครงการ ในที่สุดได้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแยกออกตามเขตพื้นที่ดังนี้ เขตพื้นที่อุบลราชธานีเขต 1 โรงเรียนบ้านเป้า โรงเรียนบ้านดูน โรงเรียนบ้านดอนกลอย เขต 2 โรงเรียนบ้านไชยชนะ โรงเรียนบ้านโคกเลาะ โรงเรียน ตชด.ทองพูนวิทยา เขต 3 โรงเรียนบ้านดอนก่อ โรงเรียนบ้านโพธิ์ศรี โรงเรียนบ้านท่าช้าง เขต 4 โรงเรียนบ้านโพธิ์ โรงเรียนประชารัฐสามัคคี โรงเรียนบ้านสร้างโหง่น เขต 5 โรงเรียนบ้านหนองสนม โรงเรียนบ้านแก้ง โรงเรียนบ้านหนองสำราญ เขตพื้นที่อำนาจเจริญ ได้แก่โรงเรียนบ้านนาเยีย โรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ โรงเรียนบ้านสร้างนกทา โรงเรียนบ้านสร้างถ่อ โรงเรียนบ้านโนนหนามแท่ง โรงเรียนบ้านหนองสามสี โรงเรียนบ้านหนองแมงดา โรงเรียนบ้านคำยานาง โรงเรียนบ้านโคกพระวินัยดี และโรงเรียนบ้านจานลาน ส่วนกิจกรรมที่วิทยาลัยฯสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ การเลี้ยงไก่เนื้อ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเลี้ยงปลา การปลูกผักสวนครัว
โครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนนอกจากนักเรียนจะได้รับอาหารกลางวันทีมีโภชนาการครบถ้วนแล้ว ยังได้ฝึกทักษะวิชาชีพที่สามารถนำไปประกอบอาชีพเมื่อเรียนจบอีกด้วย
อรัญ สิงห์คำ / อุบลราชธานี